ไม่มีใบขับขี่ เคลมประกันได้ไหม หากรถของคุณเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา

48 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไม่มีใบขับขี่ เคลมประกันได้ไหม หากรถของคุณเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา

ตอบข้อสงสัย ไม่มีใบขับขี่ เคลมได้ไหม ?
ก่อนที่จะไปตอบคำถามว่า “ไม่มีใบขับขี่ สามารถแจ้งเคลมได้ไหม” คุณต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า ประกันภัยรถยนต์จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

เป็นฝ่ายถูกเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คนขับไม่มีใบขับขี่
เป็นฝ่ายผิดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คนขับไม่มีใบขับขี่
เป็นฝ่ายถูกเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คนขับไม่มีใบขับขี่
กรณีที่คนขับไม่มีใบขับขี่แต่เป็นฝ่ายถูก รวมถึงทำประกันภัย ประเภท 1, 2+ และ 3+ เอาไว้อยู่แล้ว บริษัทประกันจะรับผิดชอบในส่วนของ “ค่าซ่อม” ของผู้ขับขี่ รวมถึงเป็นตัวกลางในการเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับคู่กรณี แต่ถ้าหากคนขับไม่มีใบขับขี่ และไม่ได้ทำประกันรถยนต์เอาไว้ ผู้ขับขี่จะต้องเป็นฝ่ายเรียกร้องค่าเสียหายด้วยตัวเองทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีความผิดเนื่องจากไม่มีใบขับขี่ตามกฎหมาย พ.ร.บ. จราจรขนส่งทางบกอีกด้วย

 
เป็นฝ่ายผิดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คนขับไม่มีใบขับขี่
กรณีคนขับไม่มีใบขับขี่ บวกกับเป็นฝ่ายผิด เบื้องต้นทางบริษัทฯ จะดำเนินการตรวจสอบว่าไม่มีใบขับขี่เพราะอะไร เพื่อผลการพิจารณาที่ถูกต้อง ดังนี้

กรณีมีใบขับขี่ แต่ใบขับขี่หมดอายุ
กรณีใบขับขี่หมดอายุ ทางบริษัทฯ จะให้ความคุ้มครองทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ของผู้เอาประกัน และของคู่กรณีด้วย
กรณีไม่มีใบขับขี่หรือไม่เคยสอบใบขับขี่
ทางบริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบค่าเสียหายต่าง ๆ ทุกกรณี แต่จะชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอกแทนซึ่งจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์
กรณีถูกยึดใบขับขี่
ผู้ขับขี่จะต้องดำเนินการคัดลอกสำนวน เพื่อนำมายืนยันกับทางบริษัทฯ เพื่อขอรับความคุ้มครองทั้งรถของผู้เอาประกันและคู่กรณี
ซึ่งจะเห็นได้ว่าต่อให้คุณเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด ประกันรถยนต์ก็ยังคงให้ความคุ้มครองอยู่ดี แต่จะคุ้มครองมาก-น้อย หรือความคุ้มครองในส่วนไหนหายไป ก็ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่ระบุไว้ในกรมธรรม์เป็นสำคัญ

 
นอกจากจะต้องเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมแล้ว คุณเองก็ควรจะให้ความสำคัญกับการพกใบขับขี่ด้วย เมื่อรู้ว่าหมดอายุก็ควรดำเนินการต่ออายุใบขับขี่ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะตามมาในอนาคต
กรณีรถหาย ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม ไม่มีใบขับขี่เคลมได้ไหม ?
หลังจากทำความเข้าใจในพาร์ทของอุบัติเหตุไปแล้ว ลำดับต่อมาเรามาดูในส่วนของกรณีรถหาย ไฟไหม้ หรือน้ำท่วมกันบ้างดีกว่า ซึ่งทั้ง 3 กรณีนี้ แม้ว่าคุณจะไม่มีใบขับขี่เพราะปัจจัยใด ๆ ก็ตาม บริษัทประกันภัยรถยนต์ยังคงให้ความคุ้มครองตามเดิม เนื่องจากบริษัทฯ มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการขับรถของผู้ขับขี่ หากคุณกำลังกังวลในส่วนนี้ สามารถปล่อยวางได้เลย เพราะรถยนต์ของคุณยังคงได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมตามเดิม (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์เป็นสำคัญ)
ไม่มีใบขับขี่ บริษัทประกันภัยจะชดเชยคู่กรณีไหม ?
ในขณะที่การเกิดอุบัติเหตุแบบมีคู่กรณี แต่คนขับหรือผู้เอาประกันภัยไม่มีใบขับขี่ ทางบริษัทประกันภัยรถยนต์จะรับผิดชอบเฉพาะ “เงินชดเชย” ในด้านร่างกาย บุคคล และทรัพย์สินของคู่กรณีเท่านั้น โดยไม่สามารถเรียกเงินประกันกับผู้เอาประกันได้ แต่ยังมี “ข้อยกเว้น” บางประการ ดังนี้

กรณีการเกิดอุบัติเหตุ บริษัทฯ ไม่คุ้มครองทรัพย์สินของผู้เอาประกัน รวมถึงครอบครัวของผู้เอาประกันด้วย
ไม่คุ้มครองทรัพย์สินและสัมภาระที่อยู่ในรถ ทั้งของผู้เอาประกันและคู่กรณี
ไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากน้ำหนักของรถยนต์ หรือน้ำหนักบรรทุกของรถยนต์ เช่น ผู้ขับขี่บรรทุกของหนัก ส่งผลให้ถนนที่ขับผ่านเกิดความเสียหาย
“ความผิด” ว่าด้วยเรื่องใช้รถไม่มีใบขับขี่

แม้ว่าทางบริษัทประกันจะดำเนินการตรวจสอบในเรื่อง “ไม่มีใบขับขี่” เพื่อพิจารณาการเคลมประกันรถยนต์ก่อนก็จริง แต่อย่าลืมว่าการไม่พกใบขับขี่ขณะใช้รถใช้ถนน มีความผิดทางกฎหมาย โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

1. ไม่มีใบอนุญาตขับขี่
หากไม่มีใบอนุญาตขับขี่ถือเป็น “ความผิดที่ยอมความไม่ได้” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามที่ระบุเอาไว้ในมาตรา 64
2. ไม่แสดงใบขับขี่
สำหรับผู้ขับขี่ที่ไม่พกใบอนุญาตขับขี่ตัวจริงหรือสำเนา สามารถยื่นแสดง “ใบขับขี่ดิจิทัล” แทนได้ แต่ถ้าหากไม่มีหลักฐานใด ๆ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ว่าเป็นที่ถือใบอนุญาตขับขี่ตัวจริง จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตามที่ระบุเอาไว้ในมาตรา 66
3. ขับรถขณะใบขับขี่หมดอายุ
การขับขี่รถในช่วงที่ใบขับขี่หมดอายุ ถูกพักใช้ ถูกเพิกถอน หรือถูกยึดใบอนุญาตขับขี่ จะต้องถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามที่ระบุเอาไว้ในมาตรา 65

.
สอบถามเพื่มเติมได้ที่  
โทรเข้า Call Center คุณวุ้น : 085-389-785

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้