4 พฤติกรรม ที่ทำให้ประกัน คุ้มครองแต่ไม่ครอบคลุม

1327 จำนวนผู้เข้าชม  | 

4 พฤติกรรม ที่ทำให้ประกัน คุ้มครองแต่ไม่ครอบคลุม

Admin อยากถามว่าคุณเคยไหม ? ซื้อประกันทิ้งไว้ ไม่ได้สนใจ หรือไม่ได้กลับมาดูในส่วนของความคุ้มครอง ไม่รู้ว่าประกันที่ทำไว้ช่วยดูแลคุณในด้านไหนบ้าง ครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง ด้านสุขภาพ การงาน การเงิน ช่วยเรื่องเงินออมสำหรับเกษียณไหม หรือจะจ่ายเงินชดเชยเพื่อดูแลคนข้างหลังได้เพียงพอหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ที่ไม่เล็กเลย อาจทำให้เราไม่ได้รับผลประโยชน์จากประกันที่ทำไว้ หรือได้รับแบบไม่ตรงตามความต้องการ โดยเฉพาะเมื่อถึงเวลาที่เราจำเป็นจะต้องใช้ผลประโยชน์จากประกันขึ้นมาจริง ๆ เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ประกันที่คุณมี ให้ความคุ้มครองได้ครบและพอดีกับทุกด้านของชีวิตคุณแล้วหรือยัง?

ในวันนี้ Admin ชวนทุกคนมาสำรวจ 4 พฤติกรรมที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ซึ่งคุณเองก็อาจเป็นอีกคนที่มีประกันที่ไม่พอดีกับชีวิตของคุณก็ได้ มาดูกันเลยย

         1. ซื้อประกันตั้งใจไว้ลดหย่อนภาษีเพียงอย่างเดียว

โดยไม่ได้ดูรายละเอียดความคุ้มครองว่าพอดีกับตัวเองหรือเปล่า Admin เชื่อเลยว่า การเริ่มต้นซื้อประกันในวัยทำงานหลายๆคน ซื้อเพื่อการลดหย่อนภาษี เพราะคนที่มีรายได้ในระดับหนึ่งจะรู้เลยว่า เราต้องเสียภาษี และตรงนี้สามารถแปรผันมาเป็นประโยชน์ให้กับเราได้ ซึ่งแตกต่างจากการซื้อประกันเพื่อคุ้มครองสุขภาพที่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะป่วย และได้ใช้ความคุ้มครองนี้

ลูกค้าหลายท่านเลือกซื้อประกัน โดยดูแค่ค่าเบี้ยประกันภัยที่ต้องการจะใช้ลดหย่อนภาษี แต่ไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียดความคุ้มครองว่าครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง ดูแลคุ้มครองชีวิต สุขภาพ และเงินคืนหลังเกษียณ หรือเปล่า บางคนตั้งใจที่จะใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนในปีนี้มากเกินไป จนลืมนึกถึงในอนาคตว่า ยังสามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยต่อเนื่องไปอีกหลายปีได้หรือไม่ (ประกันชีวิตหรือประกันบำนาญส่วนใหญ่ จะต้องมีการจ่ายค่าเบี้ยประกันหลายปี) ทำให้ถูกยกเลิกกรมธรรม์และไม่ได้รับความคุ้มครอง

          2. ซื้อประกันไว้หลายฉบับเป็นเรื่องดี แต่แน่ใจไหมว่าพอดีแล้ว
การซื้อประกันเผื่อไว้หลายฉบับถือเป็นเรื่องที่ดี หากเรามีการศึกษาข้อมูลของทุกกรมธรรม์อย่างละเอียด ว่าตรงกับความต้องการของเราจริง ๆ หรือไม่ เพราะประกัน คือตัวช่วยสำคัญในการปิดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต แต่บางทีประกันหลายฉบับที่มีอาจจะไม่พอดีกับชีวิตก็ได้

การที่มีประกันที่ให้ความคุ้มครองที่มากเกินความจำเป็น เช่น ประกันสุขภาพที่คุ้มครองถึงหลายร้อยล้านบาท เป็นต้น ซึ่งก็มาพร้อมกับค่าเบี้ยประกันที่สูงมาก ทำให้คุณอาจจะเหนื่อยเกินไปในการหาเงินมาจ่ายค่าเบี้ยประกัน หรือบางทีคุณอาจนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนแบบอื่น ก็อาจทำให้ได้ผลประโยชน์ที่มากขึ้นได้

         3. ทำประกันเพื่อเก็บเงินไว้ใช้หลังเกษียณ

แต่ Admin เชื่อว่าหลายคนเพิ่งมารู้ว่า เงินที่จะได้หลังเกษียณไม่พอใช้การเตรียมพร้อมในวัยเกษียณเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน แต่คนส่วนใหญ่มักไม่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับเกษียณ บางคนคิดว่าได้เตรียมความพร้อมหลังเกษียณด้วยการซื้อประกันแล้ว ก็อาจซื้อประกันไม่ตรงกับความต้องการจริง ๆ ก็ได้ เช่น ซื้อประกันสะสมทรัพย์ที่ให้ความคุ้มครอง 10 ปี โดยลืมคิดไปว่าจะได้เงินคืนก่อนวัยเกษียณ ก็อาจใช้เงินหมดก่อนเกษียณจริง ๆ ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่วิเคราะห์ได้ว่า มีคนไทยที่ออมเงินสำหรับเกษียณถึง 92.6% ไม่มั่นใจว่าจะมีเงินพอใช้เมื่อเกษียณ

          4. ทำประกันไว้เพื่อครอบครัว

หลายๆคน คิดเผื่อครอบครัว และวางแผนเผื่อคนที่คุณรัก แต่เพิ่งรู้ว่า ถ้าเราจากไป เงินที่ได้ไม่พอดูแลคนที่เรารัก จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พบว่า 56% ของประกันชีวิตในไทยเป็นแบบสะสมทรัพย์ โดยประกันสะสมทรัพย์เป็นประกันที่เอาไว้เก็บเงิน จะให้ผลตอบแทนเป็นเงินก้อนเมื่ออยู่ครบสัญญา แต่ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจะไม่สูงมากนัก ต่างจากประกันที่เน้นความคุ้มครองชีวิต ที่อาจจะไม่มีผลตอบแทนเมื่อครบสัญญา 

ถ้าต้องการรู้รายละเอียด เกี่ยวกับความคุ้มครองประกันชีวิต Admin จะนำมาเล่าสู่กันฟัง ในบทความต่อไป พลาดไม่ได้กับสาระความรู้ ฟรีๆ ที่นี่ 

เรื่องประกันไว้ใจให้เพจเราดูแล รับรองไม่ผิดหวัง เราจะดูแลคุณให้เหมือนกับญาติพี่น้องในครอบครัวของเราเองเลยค่ะ วันนี้เปิดโอกาสให้เพจเราได้ดูแลนะคะ เรื่องใหญ่ๆ ของคุณ จะเล็กลงได้ทันทีเลยค่ะ


ประกันสุขภาพออนไลน์  ประกันสุขภาพ  ประกันออนไลน์ ต้องทำดี คอร์ปอเรชั่น และ ธีร์ โบรคเกอร์

ชอบแชทคุย LINE 
ชอบโทรด่วน คุณวุ้น : 085-389-7856
ชอบโทรด่วน คุณจอย : 063-923-8285

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้